วิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร 
[Ban Kok Krai Tourism Community Enterprise Group]

Ban Kok Krai Tourism Community Enterprise Group แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ (ชุมชน)

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคใต้ กลุ่มวัยทำงาน/กลุ่มวัยทำงาน/


เปิดGoogle map

บ้านโคกไคร เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ที่นี่มีแหล่งธรรมชาติสวยงาม เป็นชุมชนท่องเที่ยววิถีของจังหวัดพังงา ด้วยประชากรกว่า 290 ครัวเรือน สมาชิกส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพหลัก คือ การทำประมงชายฝั่งพื้นบ้านและค้าขาย ชื่อหมู่บ้านโคกไคร มาจากคำว่า “โคกตะไคร้” โคกหมายถึงที่สูงเหนือน้ำ ส่วนตะไคร้นั้นคือ ตะไคร้กูด มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะกูด มีมากในสมัยที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จึงเป็นที่เรียกขานเป็นภาษาถิ่นใต้ว่า “บ้านโคกไคร” กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโคกไคร เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชน โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน บ้านโคกไคร มีแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่มีความงดงามนับได้ว่า ไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวที่อื่น ที่คุณจะได้สัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง กับวิถีชีวิตของชาวประมง ป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก ถ้ำลอด ลากูน และเรียนรู้ชีวิตสัตว์น้ำ แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมของชุมชน หาดตั้งเลน หรือเขาตั้งเลน เป็นหาดทราย ซึ่งจะพบได้เฉพาะตอนน้ำลดเท่านั้น เป็นบ้านของปูมดแดงนับแสน ๆ ตัวในหนึ่งเดือนจะพบเห็นปูมดแดงมาเดินบนหาดได้เพียงไม่กี่วัน หาดทรายร้อนหรือที่ชาวบ้านเรียกหาดน้ำร้อน เกิดจากรอยแยกของเปลือกโลก พบตอนน้ำทะเลลดระดับ บริเวณนี้จะกลายเป็นน้ำทะเลร้อน ทรายร้อน และโคลนร้อน ชาวบ้านเชื่อว่าสามารถรักษาโรคเหน็บชาและปวดเมื่อย หากมาตอนเช้าจะเห็นหมอกควันสีขาวรอยรอบบริเวณหาด นั่งเรือ สำรวจถ้ำงามตา ภูผาแปลก ชมป่าโกงกางและเยือนลากูนที่เงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ “ถ้ำผีหัวโต” ที่มีภาพเขียนอายุมากกว่า 3000 ปีกว่าร้อยภาพ และชมความมหัศจรรย์ของหินงอกหินย้อยแห่งถ้ำลอด เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวอิสลาม กับการทำอาชีพประมง การเลี้ยงปลาในกระชัง การหาหรืองมหอยตลับ และการดักจับหอยนางรมขนาดเล็กที่ใช้ล้อรถเก่ามาเป็นกับดัก ร่วมทำกิจกรรมกับชาวบ้านโดยการ นั่งเรือคายัคศึกษาสมุนไพรใกล้ตัว และชายเลน ทำกะปิ ทำอาหารท้องถิ่น ก่อนเดินทางโทรสอบถามตารางกิจกรรมกรรมกับทางชุมชนก่อน

 Visitor:22