ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทเรณูนคร 
[Phuthai Renu Cultural Center]

Phuthai Renu Cultural Center แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มวัยทำงาน/กลุ่มสตรี/กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน/


เปิดGoogle map

เรณูนคร เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี เช่น ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ (ชวนกันไปดื่มเหล้าหมักที่อยู่ในไห) การฟ้อนรำผู้ไทย นอกจากนี้ ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่าง ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุเรณูและตลาดอำเภอเรณูนคร การฟ้อนรำผู้ไทย เป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษของชาวผู้ไทย ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า “ฟ้อนละครไทย” เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะ โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนรำอย่างสนุกสนานในเดือนห้าและเดือนหก ซึ่งตรงกับช่วงจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟและการเฉลิมฉลองเพื่อนมัสการองค์พระธาตุเรณู เป็นการฟ้อนรำตามความชำนาญของแต่ละบุคคล ไม่เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียงกัน แต่เน้นลีลาท่าฟ้อนรำต่าง ๆ ส่วนมากเป็นผู้ชายล้วน จับกลุ่มฟ้อนรำกันเพื่ออวดสาว ๆ แต่ปัจจุบันเป็นการฟ้อนรำของหญิงชายคู่กัน โดยยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก ถือได้ว่าการฟ้อนผู้ไทยเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม การแต่งกายของชาวผู้ไทยเรณูนคร ฝ่ายชาย จะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อสีน้ำเงิน คอตั้งขลิบแดง กระดุมเงิน มีผ้าขาวม้าไหมมัดเอว สวมสายสร้อยเงิน กำไลข้อเท้าทำด้วยเงิน ประหน้าด้วยแป้งขาว มีดอกไม้ทัดหู ฝ่ายหญิง นั้นนุ่งผ้าซิ่นและสวมเสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงินขลิบแดง ประดับด้วยกระดุมเงิน พาดสไบสีขาวที่ไหล่ซ้ายและติดเข็มกลัดเป็นดอกไม้สีแดง สวมสร้อยคอ กำไลข้อมือและข้อเท้าหรือทำด้วยทองหรือเงินตามควรแก่ฐานะของตน เกล้าผม มีดอกไม้สีขาวประดับผม ปัจจุบัน สามารถชมการแสดงฟ้อนรำผู้ไทยและการแต่งกายผู้ไทยแบบเต็มยศได้ในงานเทศกาลต่าง ๆ ของจังหวัดนครพนม เช่น เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีไหลเรือไฟ งานธาตุวันเพ็ญเดือนสาม และการต้อนรับแขกผู้ใหญ่ของจังหวัด เป็นต้น

 Visitor:24