ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี ลาหู่ หรือ มูเซอ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอดำและมูเซอแดง และกลุ่มเล็ก 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอฌีหรือมูเซอกุย และมูเซอเฌเล ซึ่งการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยเช่นนี้ เป็นการแบ่งตามความแตกต่างในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาและการแต่งกาย แต่ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ภาษามูเซอดำ มูเซอแดง และมูเซอเฌเล ใช้พูดติดต่อกันได้ ยกเว้นภาษามูเซอกุยเท่านั้นที่ใช้พูดติดต่อ กับมูเซอกลุ่มอื่นไม่ได้ มูเซอดำ เรียกตนเองว่า ละหู่นะ: อาจกล่าวได้ว่าพวกนี้เป็นมูเซอดั้งเดิมที่อพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาร์และยูนนาน มูเซอแดง เรียกตนเองว่า ละหู่ณีย่า: ที่เรียกว่ามูเซอแดงนั้นมีความหมาย 2 ประการ คือ หมายถึงแถบสีแดงผืนผ้าของผู้หญิง หรืออาจหมายถึงพรานป่าก็ได้ มูเซอฌี หรือ มูเซอเหลือง: ซึ่งคนไทยและไทยใหญ่เรียกว่ามูเซอกุย พวกนี้เป็นมูเซอที่มาจากทางใต้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม คือ มูเซอชีนะตอ มูเซอซีอะดออะกา ทั้ง 2 กลุ่มนี้อยู่ทางใต้ของยูนนาน อีก 2 กลุ่ม คือ มูเซอชีบาหลา และมูเซอซีบาเกียว อาศัยในรัฐเชียงตุง รัฐฉานในเมียนมาร์และในประเทศไทย มูเซอเฌเล เรียกตัวเองว่า นะเหมี่ยว: มาแต่ครั้งที่ยังตั้งหลักแหล่งอยู่ในยูนนาน และเพิ่งมาเรียกตนเองว่ามูเซอเฌเลเมื่ออพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย คนไทยเรียกพวกนี้ว่า มูเซอดำ โดยดูจากลักษณะการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีดำ มูเซอเฌเลในประเทศไทยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอพะคอ, มูเซอนะมือ, และมูเซอมะเหลาะ (มะลอ) ปัจจุบันในประเทศไทย มีชนเผ่าลาหู่อาศัยโดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย พม่ากว่า 800 หมู่บ้าน พื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยอยู่มากได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง โดยเฉพาะตามพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่นๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย ภาษา ชนเผ่าลาหู่พูดภาษาธิเบต พม่า ซึ่งคล้ายคลึงกับพวกอาข่าและลีซอ มูเซอส่วนใหญ่พูดภาษาไทใหญ่และลาวได้ บางคนก็พูดภาษาจีนยูนานหรือพม่า ภาษามูเซอแดงและมูเซอดำต่างกันไม่มากนัก จึงฟังกันรู้เรื่อง โดยภาษาพูดเป็นการสืบทอดต่อๆ กันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมาถึงปัจจุบัน โดยแสดงถึงวัฒนธรรมด้านภาษาของตนเอง ภาษาลาหู่มีแต่ภาษาพูดเท่านั้น การสืบทอด และการสื่อสารต่างๆ นั้นสืบทอด โดยใช้ระบบความจำ พูด ฟัง เท่านั้น จะไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง วิถีชีวิต และลักษณะบ้านเรือน วิถีชีวิตด้านการละเล่น วิถีชีวิตด้านการละเล่น วิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ ความอยู่รอดของชาวลาหู่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ไม่ว่าเป็นดิน ความพอดีของน้ำจากท้องฟ้า วัฒนธรรมของชาวลาหู่ผูกพันอยู่เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติได้สะท้อนออกมาในรูปแบบวรรณกรรมปากเปล่า ซึ่งผู้นำศาสนามักจะสอนศาสนิกชน ของตน “กระดูกของเราเป็นก้อนหิน เนื้อหนังของเราเป็นดิน สายเลือดเป็นสายน้ำ ลมหายใจเป็นอากาศ และความอบอุ่นภายในกายเป็นแสงแดด” ดินเป็น ตัวแทนธรรมชาติที่มีความผูกพันที่ใกล้ชิดมนุษย์