อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ(เตรียมการ) 
[Namtok Phacharoen National Park]

Namtok Phacharoen National Park แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ น้ำตก

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ภาคเหนือ กลุ่มวัยทำงาน/


เปิดGoogle map

ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ และตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด มีพื้นที่ 534,375 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,765 เมตร สภาพทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเขาสน และทุ่งดอกกระเจียว ซึ่งเป็นดอกไม้ป่าตามธรรมชาติ ลักษณะของดอกใหญ่สีส้มสด ออกดอกระหว่างเดือนกรกฏาคม ตุลาคมของทุกปีบริเวณที่ทำการอุทยานฯ สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ   น้ำตกพาเจริญ เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกับแหล่งน้ำซับบนเขา แล้วไหลลงสู่เบื่องล่างเป็นชั้นน้ำตกเล็ก ๆ นับรวมได้ถึง 97 ชั้น มีน้ำตลอดปี ช่วงที่สวยงามคือฤดูฝน การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1090 สายแม่สอด อุ้มผาง เลี้ยวซ้ายกิโลเมตรที่ 37 เข้าไปอีกประมาณ 700 เมตร    บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก  เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ อุณหภูมิของน้ำวัดได้ 60 องศาเซลเซียส ปัจจุบันอำเภอพบพระได้จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและศาลาพักผ่อนไว้ที่บริเวณบ่อน้ำร้อน นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1206 สายพบพระ บ้านช่องแคบ แยกขวามือก่อนถึงอำเภอพบพระไปหมู่บ้านห้วยน้ำนัก    จุดชมวิวดอยเกี๊ยะ ตั้งอยู่ในเขตป่าแม่สอด หมู่ 4 ตำบลพบพระ เป็นจุดสูงสุดชายแดนไทย สหภาพพม่า สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 512 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าของพม่าได้ บางส่วนเป็นสันเขา มีอากาศเย็นสบาย ในฤดูหนาวมีทะเลหมอกเหนือแม่น้ำเมย ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย สหภาพพม่า      น้ำตกป่าหวาย ไปตามทางหลวงหมายเลข 1090 สายแม่สอด อุ้มผาง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 43 แยกซ้ายมือไปตามถนนเข้าหมู่บ้านประมาณ 20 กิโลเมตร เส้นทางคดเคี้ยว การเข้าชมน้ำตกต้องเดินจากชั้นล่างของน้ำตก ฝ่ากระแสน้ำขึ้นไปเพื่อชมน้ำตกชั้นบน จากนั้นเดินต่อไปอีกประมาณ 30 เมตร จะพบปล่องภูเขากว้างประมาณ 10 เมตร ลึกลงไปใต้ดินยังไม่มีการสำรวจความลึก มีน้ำไหลลงสู่ปล่องแล้วหายไปในบริเวณใต้ภูเขา น้ำตกป่าหวายเกิดจากลำห้วยป่าหวายมีน้ำตลอดปี บริเวณโดยรอบมีไม้หวายเป็นจำนวนมากจึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1090 สายพบพระ อุ้มผาง เลี้ยวซ้ายก่อนถึงกิโลเมตรที่ 42 เข้าไปประมาณ 20 กิโลเมตร  สถานที่พัก อุทยานฯ มีบ้านพักบริการ จำนวน 2 หลัง และลานกางเต็นท์พักแรมแต่ต้องนำอุปกรณ์มาเอง

 Visitor:14