โฮงซึงหลวง 
[Hong Sueng Luang]

Hong Sueng Luang แหล่งท่องเที่ยวสำหรับกิจกรรมพิเศษ นันทนาการ และความสนใจพิเศษ โรงละคร/โรงมหรสพ (โชว์)

แหล่งท่องเที่ยวสำหรับกิจกรรมพิเศษ นันทนาการ และความสนใจพิเศษ

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/


เปิดGoogle map

ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีความไพเราะ อ่อนหวาน ช่วยกล่อมจิตใจ ของมนุษย์ให้มีความสุข เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย โน้มน้าวจิตใจให้คล้อยตาม... ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีความไพเราะ อ่อนหวาน ช่วยกล่อมจิตใจ ของมนุษย์ให้มีความสุข เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย โน้มน้าวจิตใจให้คล้อยตาม. ด้วยความสำคัญดังกล่าว บวกกับความชื่นชอบในเสียงดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ส่งผลให้ นายจีรศักดิ์ หรือ บอม ธนูมาศ ได้สร้าง โฮงซึงหลวง ขึ้น เพื่อให้ เป็นแหล่งเรียนรู้ดนตรีล้านนาสู่เยาวชนที่หมู่ 7 ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ นายจีรศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า เป็นคนชอบดนตรีพื้นเมืองมาก ฝึกเล่นดนตรี พื้นเมืองมาตั้งแต่เด็กกับผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นนักดนตรี สังเกตเสียงและเครื่องดนตรีที่เขาเล่น จนตั้งเป็นวงดนตรีพื้นเมือง ที่สนใจมากที่สุดคือ “ซึง” เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่ง่ายๆ มีซึงอันเดียวสามารถเล่นให้ไพเราะได้โดยไม่ต้องเล่นเป็นวงก็ได้ จึงรวมกลุ่มกันทำเครื่อง ดนตรีพื้นเมือง และศึกษาจากปราชญ์ทางดนตรีล้านนา... กระทั่งนำซึงเก่าๆมาคิดค้น ทำเอง ดัดแปลง ทดลองดีดฟังเสียงว่า... มีความไพเราะไหม จะใช้ไม้ชนิดไหนดี ตอนแรกก็เปิดบ้านเป็นที่สนทนา ฝึกซ้อมเล่นดนตรีกับกลุ่มคนที่รักเสียงดนตรี ทั้งซึง สะล้อ ขลุ่ย พิณเปี๊ยะ พร้อมกับทำซึงไปด้วย เสียงดนตรีที่ไพเราะอ่อนหวานที่ดังออกจากบ้าน ทำให้ผู้คนเริ่มสนใจและถามซื้อซึงที่ทำไว้ จนเป็นแรงบันดลบันดาลใจในการ ผลิตซึง จนเปิดเป็น “โฮงซึงหลวง” ในปี พ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน จุดเด่นของโฮงซึงหลวงนอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือถ่ายทอดดนตรี พื้นเมืองฟรีแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตซึงที่ได้รับการยอมรับมาก เพราะใช้วัตถุดิบคือไม้สักที่ให้เสียงที่หนักแน่นและชัดเจน “โฮงซึงหลวงแหล่งเรียนรู้ดนตรีล้านนาสู่เยาวชน” เป็นอาคารไม้ 3 หลัง หลังแรกใช้เป็นโรงเรียนเล่นดนตรี หลังที่ 2 จัดแสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นใหม่ และใช้บรรเลงดนตรี... ส่วนหลังสุดท้ายเป็นโรงผลิตเครื่องดนตรี ทั้งดีด สี ตี เป่า ที่นี่มาพักฟรี เรียนฟรี หรือสนใจอยากจะทำเครื่องดนตรีเองก็มีให้ลองทำ และนำกลับไปเล่นที่บ้าน หากต้องการซื้อก็มีจำหน่ายในราคาไม่แพง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์เครื่องดนตรีพื้นเมืองไม่ให้หายไปกับกาลเวลา และถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนประชาชนทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทำให้โฮงซึงหลวงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปจนได้รับรางวัลมากมาย.

 Visitor:297