วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง 
[ไม่มี]

ไม่มี แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/


เปิดGoogle map

วัดพระธาตุถิ่นหลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยได้เลือกเนินเขาบริเวณดอยเด่นนางฟ้า ตำบลบ้านถิ่น เป็นสถานที่จัดตั้งพุทธอุทยาน พระบรมธาตุถิ่นแถนหลวง เฉลิมพระเกียรติ ร.9 เนื่องในปีกาญจนาภิเษก ครองราชย์ครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ทำการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ภายในวัดพระธาตุถิ่นหลวง มีพระมหาเจดีย์สีขาวขนาดใหญ่ มีจุดเด่นที่บริเวณรอบองค์พระเจดีย์ล้อมรอบไปด้วยรูปปั้นช้างและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 109 องค์ มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ณ บริเวณดอยเด่นนางฟ้า ซึ่งเป็นที่ตั้งพระธาตุถิ่นแถนหลวงแห่งนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1700 พญาเจียง สถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์ครองแผ่นดินไทลื้อ แห่งอานาจักรสิบสองปันนาน่านเจ้า ทรงพระนามว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าหอคำหลวงรุ่งเรียงเชียงรุ้ง” พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตดินแดนล้านนาออกไปได้กว้างไกล ซึ่งได้ปกครองอานาจักรโยนกนครเชียงแสน ไชยบุรี และเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จมาที่เมืองพลหรือเมืองแพร่ในปัจจุบันนี้ เพื่อทำพิธีคล้องช้างป่า เพราะที่นี่เป็นเมืองในหุบเขาที่มีธรรมชาติสมบูรณ์ มีช้างลักษณะดีอยู่มากมายตามเขตแดนแพร่ น่าน ลาว พิธีได้จัดขึ้นที่ดอยเด่นนางฟ้า ที่ตั้งองค์พระธาตุถิ่นแถนหลวงในปัจจุบัน เป็นเหตุผลที่ทำให้การออกแบบพระธาตุถิ่นแถนหลวงเต็มไปด้วยรูปปั้นช้าง และพญาเจียงยังได้กรีฑากองทัพช้างขยายอาณาเขตประเทศล้านนาไทยออกไปถึง ลาว เขมร และเวียดนาม วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพญาเจียง ถูกจารึกบันทึกไว้ในใบลานตำนานเล่าขานของล้านนา ล้านช้างและแดนอีสาน โดยเฉพาะภาพแกะสลักแผ่นหินขนาดใหญ่ที่ปราสาทนครวัดประเทศเขมร ที่รู้จักกันในนาม "กองทัพช้างกษัตริย์สามก๊ก"

 Visitor:8