วัดร้องกวาง 
[Wat Rong Kwang]

Wat Rong Kwang แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ศาสนสถาน (วัด/โบสถ์/มัสยิด ฯลฯ)

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มวัยทำงาน/


เปิดGoogle map

วัดร้องกวาง ตั้งอยู่ เลขที่ ๙๒ หมู่ที่ ๗ ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ วัดร้องกวางนี้ มีการประกาศจัดตั้งวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ในรัชสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานในทะเบียนวัด ในสมัยของสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) พระสังฆราชองค์ที่ ๒ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แต่ไม่ปรากฎหลักฐานที่ระบุว่า ผู้สร้างวัดเป็นใคร และพระอธิการผู้ดูแลวัดเป็นใคร พระอุโบสถ วัดร้องกวาง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านหลวงพ่ออินต๊ะ อิปิน ซึ่งมีภูมิลำเนาที่ บ้านกวางช้างมูบ ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยพี่น้อง ได้ออกเดินทางเรื่อยมา จากภูมิลำเนาเดิม จนมาพบ สถานที่แห่งนี้ (พื้นที่วัดในปัจจุบัน) ซึ่งในขณะนั้น อาจจะเป็นวัดร้างหรือเป็นสถานที่ยังคงมีร่องรอยให้เห็นว่าเคยเป็นวัดมาก่อน และบริเวณโดยรอบยังว่างอยู่ ไม่มีผู้ใครจับจอง จึงทำการเข้ามาบูรณะ โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในชุมชน เริ่มก่อสร้างกุฏิ ขึ้นหลังหนึ่ง ภายหลังมีการสร้างวิหารแบบก่ออิฐถือปูน หันหน้าทางทิศเหนือ และมีประตูทางเข้าสองด้าน คือ ด้านหน้า และประตูด้านทิศตะวันตก หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ (ไม้แป้นเกล็ด) พร้อมกันนั้นได้สร้างพระพุทธรูป ๑ องค์ แบบก่ออิฐถือปูนเป็นพระประธานในโบสถ์ และยังได้สร้าง หล่อ ช้างในลักษณะมูบ (หมอบ) จำนวน ๑ เชือกไว้ เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า หลวงพ่ออินต๊ะ ท่านมาจากบ้านกวางช้างมูบ ช้างเชือกวิหลวงพ่ออินต๊ะ อิปินสร้างไว้นั้นถูกทุบทิ้ง เมื่อครั้งรื้อวิหารหลังเก่า ด้านหน้าโบสถ์ ต่อจากนั้นได้มีหม่องแอ หม่องยอชด์ ส่างคำมูล พร้อมด้วยชาวบ้าน ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปอีกองค์ ด้วยไม้สักทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง แบบพระเงี้ยว หลวงพ่ออินต๊ะ เป็นพระอธิการอยู่วัดร้องกวาง ตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๔๐๕ ๒๔๒๘ วัดร้องกวางได้รับประกาศวิสุงคามสีวา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พระสองพี่น้อง พระประธานในโบสถ์ วัดร้องกวาง และบุษบก (ด้านขวาของพระประธาน) คำว่า "ร้องกวาง" เกิดจากสองคำ คือ คำว่า "ร้อง" เป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า ทางเดินหรือร่องน้ำ ที่มีน้ำขังและไหลผ่านตลอดทั้งปี อันหมายถึง ลำห้วย นั่นเอง ส่วนคำว่า กวาง เป็นภาษกลาง หมายถึง ชื่อสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง จึงหมายความถึง ลำห้วยหรือลำธารที่มีฝูงกวางมาใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งในสมัยนั้น มีลำห้วยนี้อยู่ด้านหลังของวัด ประกอบกับ กลุ่มชนกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี่ อพยพมาจาก “บ้านกวาง ช้างมูบ” ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น จึงประสงค์จะตั้งชื่อหมู่บ้านและ ถาวรวัตถุอื่นๆ ให้มีความหมายใกล้เคียงกับชื่อถิ่นฐานเดิมของตนเพื่อเป็น อนุสรณ์ เมื่อเข้ามาภายในโบสถ์ พบพระพุทธรูป ๒ องค์ ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระสองพี่น้อง ซึ่งเป็นพระประธานของพระอุโบสถแห่งนี้ ด้านบนผนังของโบสถ์ มีจิตรกรรมฝาผนังแสดงถึงเรื่องราวของพุทธประวัติ แต่เป็นจิตรกรรมที่ไม่ใช่เขียนยาวต่อเนื่อง ทั้งผืนผนัง มีการกำหนดคล้ายเหมือนกรอปรูป ซึ่งแสดงแต่ละช่วงของพุทธประวัติ ภายในโบสถ ยังมี บุษบกไม้ อยู่หนึ่งหลัง เป็นสีน้ำตาลเข้ม ลงรักษ์ปิดทอง ลวดลายไทยสีทองสวยงาม ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของพระประธาน ภายในพื้นที่วัด มีพระเจ้าทันใจ ไว้ให้นักท่องเที่ยว กราบสักการะ เดินออกมาที่ พระธาตุโชคดีศรีร้องกวาง ซึ่งไม่ไกลจากโบสถ์ เท่าใด นัก ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านหน้า เจดีย์องค์พระธาตุ องค์พระธาตุโชคดีศรีร้องกวาง เป็นเจดีย์พระธาตุที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมี พระครูวิจิตรนวการโกศบ (ครูบาสมจิต) เจ้าอาวาสวัดสะแล่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็น ประธานอุปถัมถ์และอำนวยการก่อสร้าง และพระครูสิริวรรณรัชต์ ทผจล.ชอ. (พระมหาสมบัติ สิริวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดร้องกวาง เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยชาวบ้านร้องกวาง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาพุทธเจ้า มาประดิษฐานไว้เป็นที่สักการะของชาวร้องกวาง ลักษณะองค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานสี่เหลี่ยม ลดหลั่นเป็นชั้น ยอดฉัตร ๗ ชั้น ล้อมด้วยผ้าสีเหลือง แต่ละทิศ (๔ ทิศ) ขององค์พระธาตุ จะมีซุ้ม ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน ที่วัดร้องกวางยังมีประเพณี พิธีสักการะบูชาองค์พระธาตุ ทุกวันที่ ๗ ๙ เดือนมกราคมของทุกปี

 Visitor:17